ยินดีด้วยนะครับที่คุณหาเงินก็เก่ง เก็บเงินก็อยู่ ลงทุนก็เป็น
แหมเป็นไปตามสูตรของคนที่จะมั่งคั่งร่ำรวยเลย
แต่ในเช้าวันหนึ่งคุณพบว่าคุณเจ็บหน้าอกอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
เริ่มหายใจไม่ออก วูบและหมดสติ
คุณถูกส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน
หมอตรวจพบว่าเส้นเลือดที่เลี้ยงหัวใจอุดตัน
ต้องได้รับการผ่าตัดรักษาโดยด่วน
ครอบครัวคุณตัดสินใจรักษาทันทีด้วยเงินเก็บที่คุณมีอยู่
คุณว่าหลังจากนั้นชีวิตคุณจะเป็นเช่นไรครับ
มีใครรับรองได้ไหมครับว่าชีวิตนี้จะไม่เจ็บ จะไม่ป่วย
แล้วหากต้องเจ็บป่วย โดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง
เช่นมะเร็ง โรคหัวใจ โรคทางสมอง หรือมีแต่การพิการทุพพลภาพ
จะมีเงินรักษาและดูแลตัวเองเพียงพอ
ในวันที่แข็งแรงทำงานได้คนหลายๆคนมุ่งเน้น
การเก็บออมและลงทุนให้เงินงอกเงย
แต่เมื่อวันที่โชคร้ายต้องเจ็บป่วยร้ายแรงขึ้นมา
สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือรายได้ลดลงเพราะทำงานไม่ได้เหมือนเดิม
แต่รายจ่ายกลับเพิ่มขึ้น
และเมื่อถึงจุดที่รายจ่ายเริ่มสูงกว่ารายได้
จุดนั้นการวางแผนการเงินตามหลักสากลเรียกว่า
"จุดวิกฤติทางเศรษศาสตร์ส่วนบุคคล"
หรือ "Personal Economic Crisis"
คุณต้องเริ่มถอนเงินเก็บที่คุณมีมาดูแลตัวเอง
"ชีวิตคุณจะเป็นอย่างไรด้วยเงินเก็บที่คุณมีอยู่"
และที่หนักกว่านั้นหากเงินเก็บที่คุณมีไม่เพียงพอ
ชีวิตที่ต้องรักษาหากเจ็บป่วยจะเป็นเช่นไร
บางคนอาจบอกผมว่า
เค้าอาจไม่โชคร้ายอย่างนั้นหรอก
เค้าแข็งแรง ดูแลตัวเอง และออกกำลังกายเป็นประจำ
แต่คุณเคยเห็นคนที่เป็นแบบนั้นป่วยแบบนั้นป่วยบ้างไหมหล่ะ
และมีใครรับรองได้ไหมว่าคนที่เป็นอย่างนั้นจะไม่เป็น
บางคนบอกผมว่า
ไม่เป็นไรที่ทำงานมีประกันสุขภาพหรือสวัสดิการดี
ผมอยากจะถามว่า
คุณมั่นใจไหมครับว่าสวัสดิการที่คุณมีอยู่
จะเพียงพอหากถึงวันต้องใช้ขึ้นมา
และคุณมั่นใจไหมครับว่าสวัสดิการเหล่านั้น
จะมีอยู่หากคุณต้องออกจากงาน
วิธีที่ง่ายที่สุดในการจัดการเรื่องนี้คือ
การโอนย้ายความเสี่ยงหรือTransfer Risk
โดยการยอมเจียดเงินก้อนเล็กๆ
เพื่อเป็นค่าเบี้ยประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง
ที่ผมมั่นใจว่าคุณจะจ่ายได้ง่ายกว่า
การจ่ายค่ารักษาและการสูญเสียรายได้หากเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง
ยอมจ่ายเงินก้อนเล็กเพื่อซื้อเงินก้อนใหญ่
นี่คือวิธีรับมือง่ายๆของผู้ไม่ประมาทครับ
ขอบคุณภาพประกอบดีๆ
จากเวทีนักวางแผนการเงินระดับโลก MDRT 2015 ครับ